วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555



กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2539 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบต่อนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที 2000) ตามที่เสนอโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ สิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาสังคมและเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจ อุตสาหกรรม และการค้าระหว่างประเทศ ในการก้าวเข้าสู่สังคมสารสนเทศ ซึ่งเป็นยุคเศรษฐกิจใหม่แห่งศตวรรษที่ 21 โดยหนึ่งในมาตรการที่สำคัญคือ การปฏิรูปกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ

       กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Law) หรือมักเรียกกันว่า "กฎหมายไอที (IT Law)W ในเบื้องต้น ที่จำเป็นต้องมีการตรากฎหมายขึ้นใช้บังคับ มีทั้งสิ้น 6 ฉบับ ได้แก่ 
กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 ว่าด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

       ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายทั้ง 6 ฉบับแรกเป็นกฎหมายชุดที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด เพราะเป็นการยอมรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการทำนิติกรรม สัญญา ในรูปแบบใหม่ การรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อระบุหรือยืนยันตัวบุคคล และการป้องกันอาชญากรรมในรูปแบบใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่าการโอนเงินหรือการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีความปลอดภัย และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ในทางมิชอบ อีกทั้งจำเป็น อย่างยิ่งที่ต้องเตรียมประเทศให้พร้อมกับการก้าวเข้าสู่สังคมสารสนเทศ จึงต้องให้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ

       ต่อมาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2541 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบต่อการจัดทำโครงการพัฒนา กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศที่เสนอโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ สิ่งแวดล้อม และเห็นชอบให้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (National Information Technology Committee) หรือที่เรียกโดยย่อว่า "คณะกรรมการไอทีแห่งชาติ หรือ กทสช. (NITC)" ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางและประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินการจัดทำกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

       ทั้งนี้คณะกรรมการไอทีแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อยกร่างกฎหมายไอทีทั้ง 6 ฉบับ โดยมอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer Technology Center) หรือที่มักเรียกโดยย่อว่า "เนคเทค" (NECTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Science and Technology Development Agency) หรือที่เรียกโดยย่อว่า "สวทช." กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการไอทีแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นเลขานุการในการยกร่างกฎหมายไอทีทั้ง 6 ฉบับ เนคเทคจึงได้เริ่มต้นโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้น เพื่อปฏิบัติตามนโยบายที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลและคณะกรรมการไอทีแห่งชาติ ในการยกร่างกฎหมายไอทีทั้ง 6 ฉบับ ให้แล้วเสร็จ คือ

       กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
       1) กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transactions Law)
       2) กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signatures Law)
       3) กฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)
       4) กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law0
       5) กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Fund Transfer Law)
       6) ฎหมายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ (National Information Infrastructure)



1.กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transactions Law)
เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให ้เสมอด้วยกระดาษ อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่าง ๆ ซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดทำขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่า เทียมกับนิติสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่จัดทำขึ้นให้อยู่ใ นรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมตลอดทั้งการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเ ล็กทรอนิกส์
2. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signatures Law)
เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบว นการใด ๆ ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดา อันส่งผลต่อความเชื่อมั่นมากขึ้นในการทำธุรกรรมทางอิ เล็กทรอนิกส์ และกำหนดให้มีการกำกับดูแลการให้บริการ เกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการให้ บริการอื่น ที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
3.กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศใ ห้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน (National Information Infrastructure Law)
เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่ โครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่น ๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐาน สำคัญในการพัฒนาสังคม และชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบายพื้ นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 ในการกระจายสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน และนับเป็นกลไกสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสัง คมอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเองพ ัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน และนำไปสู่สังคมแห่งปัญญา และการเรียนรู้
4. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)
เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิและให้ความคุ้มครองข้อ มูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจถูกประมวลผล เปิดเผยหรือเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอัน รวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี จนอาจก่อให้เกิดการนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางมิชอบอันเป ็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิขั้นพื้นฐานใ นความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ
5.กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอ ร์ (Computer Crime Law)
เพื่อกำหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำผิดต่อระ บบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม
6.กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer Law)
เพื่อกำหนดกลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเ งินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่เป็นการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน และระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอน ิกส์ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบการทำธุรกรรมทางก ารเงิน และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น 



ที่มา:http://www.thai3dviz.com/board/blog.php?bt=74

ที่มา:http://cs.udru.ac.th/it/ITLAW1.htm
ที่มา:http://www.kmitl.ac.th/agritech/nutthakorn/04093009_2204/isweb/Lesson%2027.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น